เมื่อเราต้องสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาหนึ่งเว็บไซต์ องค์ประกอบทุกอย่างบนเว็บไซต์ถือเป็นส่วนสำคัญทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้สี สไตล์ รูปภาพ หรือแม้แต่ตัวอักษร ทุกสิ่งเหล่านี้จะรวมกันทำให้องค์ประกอบสมบูรณ์ หากคุณละเลยกับองค์ประกอบบางอย่างอาจทำให้เว็บไซต์ของคุณดูไม่โดดเด่นเท่าที่ควร ซึ่งสิ่งที่คนสร้างเว็บไซต์มักมองข้ามไป มักเป็นรูปแบบตัวอักษรที่จะใช้บนเว็บไซต์
ตัวอักษรบนเว็บไซต์เป็นตัวสื่อสารเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณได้มากกว่าคำพูด แบบอักษรบนเว็บไวต์จึงควรทำให้ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้ง่ายและดูคมชัดเมื่ออยู่บนหน้าจอทุกอุปกรณ์ วันนี้เราจะมาแนะนำแบบอักษรที่ควรใช้บนเว็บไซต์ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ
ฟอนต์ Bai Jamjuree
เป็นรูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หากใครอยากใช้รูปแบบตัวอักษรที่มีหัวเหมือน Angsana New สามารถเลือกใช้ Bai Jamjuree ได้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่จะนำไปใช้บนเว็บไซต์รับรองว่าอ่านง่ายแน่นอน
ฟอนต์ Itim
Itim เป็นแบบอักษรลายมือภาษาไทยและภาษาอังกฤษแบบใหม่ที่มีการออกแบบวนซ้ำ ๆ ตัวอักษรมีความกลมจะดูไม่เป็นทางการมากจึงได้รับความนิยมอย่างมากในเว็บไซต์ประเภท Blog เพราะเป็นฟอนต์อ่านง่ายสบายตา สามารถนำไปใช้ได้ฟรี
ฟอนต์ Prompt
ไม่แนะนำไม่ได้สำหรับฟอนต์ยอดฮิตที่คนไทยส่วนใหญ่เลือกใช้ Prompt หรือที่คนไทยอ่านว่า “พร้อม” เป็นรูปแบบตัวอักษรที่เรียบง่าย ถ้าเป็นภาษาไทยจะไม่มีหัวแต่ก็สามารถอ่านออกได้ง่าย จึงถูกนำมาใช้ในการออกแบบบ่อยเพราะดูไม่ทางการมากเกินไปเหมาะสำหรับทั้งการใช้งานบนเว็บและการพิมพ์ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และโปสเตอร์ เป็นต้น
ฟอนต์ Kanit
อีกหนึ่งตัวอักษรยอดนิยมของคนไทยอีกเช่นเคย Kanit หรือที่คนไทยส่วนใหญ่ออกเสียงว่า “คณิต” เป็นตัวอักษรอีกรูปแบบที่ไม่มีหัวแต่สามารถใช้ได้กับทุกเอกสารหรือเว็บไซต์ ตัวอักษรรูปแบบนี้เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิด Humanist Sans Serif เข้ากับส่วนโค้งของรูปแบบเรขาคณิตแบบ Capsulated ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เป็นตัวอักษรที่อ่านได้ง่าย เพราะมีการออกแบบให้มีระยะห่างระหว่างตัวอักษรน้อยลง ในขณะที่ยังคงความอ่านง่ายและความชัดเจนในจุดที่มีขนาดเล็กลง
ฟอนต์ Chonburi
ชลบุรี ที่ไม่ใช่ชื่อจังหวัดในประเทศไทย แต่เป็นแบบอักษรไทยและภาษาอังกฤษรูปแบบใหม่สำหรับการใช้งานการแสดงผลบนเว็บไวต์ได้ ด้วยการออกแบบที่เป็นกึ่งทางการ เป็นฟอนต์ที่จะเป็นเส้นขีดอยู่ที่บริเวณฐานหรือปลายเส้น นั่นทำให้ฟอนต์ Chonburi เป็นฟอนต์ที่ถูกออกแบบมาให้ไม่มีหัว สามารถใช้งานได้ทุกรูปแบบ
ฟอนต์ Maitree
Maitree หรือที่อ่านว่า “ไมตรี” มีความหมายในภาษาไทยว่า ความเป็นมิตร ไมตรีเป็นอักษรไทยแบบหัวเป็นวงกลมที่มีสัดส่วนกว้าง มีลักษณะเฉพาะด้วยความกว้างของตัวอักษรที่ใหญ่กว่าปกติในภาษาไทย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ต้องการลักษณะโบราณและประวัติศาสตร์
เจ้าของเว็บไซต์สามารถเลือกใช้ตัวอักษรเหล่านี้ ได้ใน Wewyn เครื่องมือสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป โดยไม่ต้องดาวน์โหลดฟอนต์ด้วยตนเอง และสามารถใช้งานได้ฟรีทั้งในเชิงของส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณเข้าใจง่ายและดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น