Wewyn Blog
สินค้าต้องห้ามขาย
31 January 2018
            ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออฟไลน์ หรือร้านค้าออนไลน์ที่สร้างโดยเว็บไซต์สำเร็จรูปจะมีสินค้าที่ไม่สามารถขายได้หรือที่เรียกว่าสินค้าต้องห้าม โดยสินค้าต้องห้ามยังรวมไปถึงสินค้าที่หายาก มีราคาสูง เช่น งาช้าง อาวุธ ยาเสพติด สื่อลามก สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น นอกจากนี้จะมียาบางประเภทที่สามารถซื้อขายออนไลน์และโฆษณาได้แต่ต้องเป็นยาที่ได้รับการยินยอมจากแพทย์ก่อน เพราะยาบางตัวอาจมีอันตรายต่อชีวิต ดังนั้นผู้บริโภคที่ซื้อยาบนอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็น ยาเพิ่มความขาว ยาลดความอ้วนก็ตามต้องดูส่วนประกอบของยาว่ามีตัวยาที่อันตรายและผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่ดูแลหรือไม่ ซึ่งหากผู้ขายทำการขายสินค้าต้องห้ามจะต้องได้รับโทษเช่นกัน ดังนั้นก่อนขายสินค้าไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ควรเป็นสินค้าที่สามารถขายได้ และไม่ผิดต่อกฎหมาย
            สำหรับผู้ที่อยากขายของออนไลน์ ก่อนที่จะทำเว็บไซต์หรือเพจในการขายของ ควรทราบว่าสินค้าประเภทใดบ้างที่เราสามารถขายได้ทั่วไป เพื่อให้สามารถขายของออนไลน์ได้อย่างถูกต้อง โดยสินค้าแต่ละประเภทที่สามารถขายได้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งวันนี้เราจะดูกันว่าสินค้าประเภทไหนบ้างที่ผิดกฎหมายและห้ามขายเด็ดขาดในประเทศไทย
 
สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา
           ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เกิดจาการทำซ้ำ คัดลอก ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกภาพ บันทึกเสียง เป็นต้น ตัวอย่างของสินค้าต้องห้ามที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาและการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นการออกแบบผลิตภัณฑ์ วรรณกรรม ภาพวาด ศิลปกรรม ภาพยนตร์ เครื่องหมายการค้า เป็นต้น
 
ยาเสพติด บุหรี่ไฟฟ้า
            ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ กำนหนดให้บารากู่ บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 นอกจากห้ามนำเข้าแล้วยังห้ามขายอีกด้วย และยังรวมถึงสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ สุรา เครื่องดื่มแอลกฮอล์ เป็นต้น
 
สินค้าประเภทยา อาหารเสริม
            การขายผลิตภัณฑ์ประเภทยา ที่เป็นอาหารเสริม มีอยู่ให้เราเห็นมากมายโดยเฉพาะทางเว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งยาเหล่านี้ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน โดยต้องขออนุญาตเพื่อทำการโฆษณาก่อน เช่น ยาสามัญประจำบ้านที่ไม่ต้องขอคำยินยอมจากแพทย์ การโฆษณาจะต้องส่งตัวอักษร ภาพ เสียงให้ผู้อนุญาตตรวจก่อน เพื่อป้องกันการโอ้อวดสรรพคุณยาที่เกินจริง